ชีวิตทางเศรษฐกิจของคนไทยใหม่

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

"ชีวิตทางเศรษฐกิจ" ของคนไทยใหม่ คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ โดย ดร.ฉวีวรรณ สายบัว

ชีวิตไม่ได้เป็นอย่างที่คนเราคิด (หวัง)

เมื่อถึงเวลาที่ปีเก่าต้องจากไป และปีใหม่เริ่มต้นเข้ามาในชีวิต ผู้คนต่างถือเอาเป็นเวลา โอกาส หรือเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง มีการจัดงานเลี้ยงรื่นเริง การให้ของขวัญ และการส่งบัตรอวยพรความสุขปีใหม่ให้แก่กันและกัน โดยต่างอวยพรกันให้พบแต่ความสุข ความสำเร็จ ความสมหวังใน ทุกสิ่งที่ปรารถนา ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตส่วนตัวและการงาน ให้มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ให้ปลอดจากภัยพิบัติต่างๆ ให้มีอายุมั่นขวัญยืน และคำอวยพรอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้ได้ ให้พบ และให้เกิดแต่สิ่งดีๆ ขึ้นในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น

แต่เมื่อเฝ้าสังเกตจากชีวิตของตนเอง และชีวิตของผู้คนอื่น ประกอบกับประสบการณ์ชีวิตและความเข้าใจในชีวิตที่มากขึ้น และโดยเฉพาะจากภาพชีวิตของผู้คนที่ได้เห็นทุกวันในเวลาปัจจุบัน (ไม่ใช่แต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่มนุษยชาติทั้งโลก) ทำให้รู้สึกว่า และทำให้มองเห็นว่า คำอวยพรดีๆ และต่างๆ นานาที่ผู้คนมอบให้ระหว่างกัน ดังกล่าว ทำไมส่วนใหญ่ (หรือเกือบจะทั้งหมด) มันจึงไม่เกิดเป็นจริงขึ้น หรือทำไมส่วนใหญ่มันจึงมัก เกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามกับคำอวยพร

(ตัวอย่างที่เราคนไทยทำอะไรในตอนนี้กัน จึงเกรงว่ามันจะเกิดผลในทางตรงกันข้ามกับที่เราต้องการหรือปรารถนาให้เกิดขึ้น หรืออะไรที่เราอยากให้เกิดมันจะเกิดตรงกันข้าม ไม่ใช่ตามที่เราต้องการให้เกิดขึ้น (irony) เช่น "ให้คนไทยรักสามัคคีกัน" แต่ที่น่าจะเกิดขึ้นจริงคือ "คนไทยจะมีความแตกแยกเกิดขึ้นมากและรุนแรงจนเกินกว่าจะควบคุมได้" ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์ของปัญหาที่สะสมกันมาในอดีตอันยาวนานจนถึงวันที่จะปะทุรุนแรงขึ้น)

เพราะฉะนั้น เมื่อมีชีวิตอยู่มาจนถึงวันนี้ได้ทำให้รู้สึกว่าจะไม่กล้าหรือไม่อยากเปล่งเสียงหรือเขียนคำอวยพรให้แก่ใครง่ายๆ แล้ว (เกรงว่าจะเป็นการหลอกคนให้หลงสบายใจกันง่ายไป เพราะเชื่อว่าเส้นทางชีวิตหรือทางออกของชีวิตไม่ว่าจะเป็นชีวิตของบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม หรือชีวิตของประเทศโดยส่วนรวมเป็น "เส้นทางวิบาก" หรือ "hard-way out" ไม่ใช่ "easy-way out" หรือ "quick/quick-way out" แน่นอน)

และเพราะรู้สึกว่าการเป็นคนอย่างที่เราเป็นกันอยู่ หรือเป็นคนตามมาตรฐานอย่างที่มนุษย์สร้างกันขึ้นมาเอง (man-made standards) นั้นมันเต็มไปด้วยบาป ชั่วร้าย ไม่บริสุทธิ์ ไม่ดีงาม ไม่ชอบควร ไม่สมกับเป็นมนุษย์ เหล่านี้มันจึงทำให้ไม่ขลัง ขาดพลัง ขาดอำนาจที่จะดลบันดาลให้คำอวยพรของคนเราที่ให้แก่กันและกันมันเป็นไปหรือเกิดขึ้นจริงตามนั้นได้

และนอกจากนั้นดังปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะสภาพการณ์ของคนไทยและประเทศไทยในเวลาปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากเวลาปกติแล้ว ทุกครั้งเมื่อ มีวันหยุดติดต่อกันหลายวันในเทศกาล/ประเพณีงานรื่นเริงและการเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่ ที่เป็นโอกาสสำหรับผู้คนจะได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้าน/เยี่ยมญาติยังต่างจังหวัดและเดินทางท่องเที่ยว นอกจากนั้น ผสมกับแรงกระตุ้น/แรงปั่นให้ผู้คน ช่วยกันเดินทางท่องเที่ยวในประเทศและช่วยกัน จับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจให้แก่เศรษฐกิจไทย

บวกกับชีวิตที่คิดน้อย รักสนุก รักการดื่มการกิน และการเป็นนักบริโภคนิยม/วัตถุนิยมกันมากขึ้น ทุกวัน จำนวนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ซื้อกันเพิ่มขึ้นอย่างมากทุกปี (เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เอามาโอ้อวดเป็นความสำเร็จทางเศรษฐกิจ และการที่เราจะเป็น "ดีทรอยต์แห่งเอเชีย") และการขาดสติของคนไทยในปัจจุบัน (เพราะสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรมเอื้อหรือบังคับให้กลายเป็นคนเช่นนั้นไป) เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน/ทางรถยนต์มากขึ้นทุกปี จนทำให้สถิติของผู้ตายและบาดเจ็บในเทศกาลต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทุกปี และเป็นตัวเลขที่ น่ากลัวและน่าสยองขวัญมาก

จนกลายเป็นว่ามันเป็นเทศกาลที่เราควรจะมีความสุข มีความรื่นเริงเบิกบานใจกัน หรือกลายเป็น "เทศกาลพาคนไปตาย" กันไปแล้ว (จนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีชื่อติดอันดับโลกในอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีสาเหตุการตายจากอุบัติเหตุทางถนน/รถยนต์มากที่สุดประเทศหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดเข้าใจว่าเป็นอับดับ 6 ของโลกเลย ทีเดียว นับเป็นความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้)

นอกจากนั้นแล้ว ถ้าเราไม่หลง ไม่หลอกตัวเอง แต่คอยประเมิน คอยสำรวจความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของตัวเอง ตลอดจนผลของมันที่เกิดขึ้นตามมาก็จะพบความจริงของชีวิตว่า (ดังมีตัวอย่างจากตัวเราเองและผู้อื่นมากมายหรือแทบจะทั้งนั้นให้เห็น) ไม่ว่าคนเราจะแตกต่างกัน เป็นคนจน คนชั้นกลาง หรือเป็นคนร่ำรวยซึ่งรวยกันเป็นร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน หรือเป็นแสนล้านบาทก็ตาม และก็ยังมีทั้งอำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียง ตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ด้วย (ตามระบบเกียรติยศที่คนเราสร้างกันขึ้นมาเอง)

แต่ที่เราทุกคนเหมือนกันหรือไม่แตกต่างกันเลยก็คือ เราต่างก็ยังเป็นมนุษย์ที่ขาดความสุขหรือ อยู่กับความทุกข์กันมาก หรือที่ความต้องการภายในส่วนลึกของจิตใจไม่อาจตอบสนองหรือถมให้เต็มด้วยปัจจัยหรือวัตถุภายนอกชีวิตเหล่านั้นได้ จึงไม่แปลกที่จะเห็นคนที่จมอยู่กับกองเงินและกองเกียรติยศ ชื่อเสียงมากมายแต่กลับเป็นคนที่น่าสงสาร (ทำให้รู้สึกว่าไม่มีอะไรที่จะต้องอิจฉาคนรวย คนมีเงินหรืออยากจะเป็นคนรวยบ้างเลย) ขณะเดียวกัน ก็มองเห็นว่ามีอะไรในคนจน/ ความจนที่ทำให้รู้สึกน่าเป็นที่อิจฉามากมาย (เพราะดูชีวิตของเขาเหล่านั้นน่าจะมีความสุขมากกว่าคนรวยเสียอีก)

หรือแม้แต่ในทุกวันนี้ที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียิ่งก้าวหน้าไปไกล มนุษย์กลับยิ่งไม่มีความสุข มนุษย์มีความรู้ความสามารถสารพัด เอาชนะธรรมชาติ พิชิตดวงจันทร์ได้ แต่ไม่สามารถพิชิตตนเองได้ดังกล่าว เพราะภายในจิตใจของมนุษย์มีช่องว่างที่ไม่อาจถมให้เต็มด้วยเงินทอง บ้านช่องใหญ่โตสวยหรู รถยนต์ราคาแพง อำนาจ ชื่อเสียงหรือกามารมณ์

มนุษย์เราส่วนใหญ่ในทุกวันนี้จึงยังคงดิ้นรนต่อสู้พยายามแก้ปัญหาของตนเองและปัญหาของมนุษย์ด้วยกัน ตามความรู้ความสามารถของมนุษย์เอง ที่ดูเหมือนว่ามันจำกัดและไม่เพียงพออย่างมากที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์ด้วยกันได้ บ่อยครั้งเราจึงต้องพบกับความผิดหวังเพราะดูเหมือนว่าสังคมมนุษย์จมดิ่งสู่ความชั่ว (ร้าย) มากขึ้นทุกที

ยิ่งกว่านั้น ความทุกข์ ความสิ้นหวัง ความว้าเหว่ ความว่างเปล่า และความกลัวได้ครอบงำจิตใจของมนุษย์มากขึ้นๆ จนเราไม่แน่ใจว่า หรือเกิดความสงสัย เกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า ชีวิต (มนุษย์) คืออะไร ? เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ? เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่อะไรกันแน่ ?

ชีวิต (มนุษย์) คืออะไร?

ดังกล่าวมาแล้ว ทุกคนทั้งคนจนและคนรวย คนไม่มีทรัพย์สมบัติและคนมีทรัพย์สมบัติ (รวมทั้งมีอำนาจวาสนา ตำแหน่ง ชื่อเสียงและเกียรติยศต่างๆ ตามระบอบเกียรติยศที่มนุษย์สร้างกันขึ้นมาเอง) เหมือนกันภายในส่วนลึกของจิตใจของคนเรายังเต็มไปด้วยหรือถูกครอบงำด้วยความทุกข์ ความสิ้นหวัง ความว้าเหว่ ความว่างเปล่า ความไม่แน่ใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตและขณะเดียวกันก็ขาดความสามารถที่จะเยียวยาหรือพิชิตความรู้สึก ในจิตใจเหล่านี้ของตนเองและที่จะแก้ไขปัญหาของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้

สะท้อนให้เห็นว่า ความสุขความพอใจทางกาย หรือความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ในทางวัตถุ หรือปัจจัยตอบสนองชีวิตภายนอกของมนุษย์มีผลเพียงเล็กน้อยต่อการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์หรือต่อชีวิตข้างในของมนุษย์

ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติบันทึกการแสวงหาของมนุษย์เพื่อเข้าถึงความจริงของชีวิตในรูปของศาสนาต่างๆ เพราะความหิวกระหายในส่วนลึกของจิตใจมนุษย์ผลักดันให้มนุษย์ต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นที่ยึดเหนี่ยวนมัสการ มนุษย์จึงแสวงหาและแสวงหา ศาสนาต่างๆ จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุดังนี้

โดยศาสนายิ่งใหญ่ของโลก 3 ศาสนา คือ ยิว คริสต์และอิสลาม และศาสนาสำคัญอื่นที่คนในประเทศเอเชียนับถือคือ ฮินดู พุทธ และขงจื้อ/เต๋า เป็นต้น

แม้จะมีศาสนาขึ้นมาแล้วในโลก โดยทุกศาสนาดังกล่าวล้วนมีอายุกันมาเป็นพันๆ ปีแล้วทั้งสิ้น แล้วทำไมความเป็นมนุษย์ ความเข้าใจในชีวิต หรือทำไมการพัฒนาภายในส่วนจิตใจของมนุษย์บนโลกใบนี้จึงไม่ได้ก้าวหน้าไปกว่ามนุษย์เมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้วเลย (ตัวอย่างในยุคกรีกโบราณ) แต่ยังกลับเลวร้ายลงกว่าเดิมเสียอีก (ตัวอย่างนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่มีใครเป็นอย่างหรือเหมือนพระพุทธเจ้าอีกเลย)

จึงเกิดคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับศาสนา/หลักศาสนาอันเป็นที่มาของความเชื่อและค่านิยมที่ บังคับพฤติกรรมและการกระทำของผู้คนในสังคมและเกิดอะไรขึ้นกับมนุษยชาติทั้งโลก

เป็นต้นว่าศาสนายิ่งใหญ่ของโลก 3 ศาสนาคือ ยิว คริสต์และอิสลามดังกล่าวมา ความจริงมาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน แต่กลับมองพระเจ้าแตกต่างกัน ทำให้ปาเลสไตน์ขัดแย้งกับอิสราเอลจนต้อง รบราฆ่าฟันกันไม่เลิกมาจนถึงทุกวันนี้ หรือเกิดความขัดแย้งกันระหว่างโลกตะวันตก และโลกตะวัน ออกกลางและมุสลิมอันเป็นที่มาของสงครามในตะวันออกกลาง และปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ที่สภาพการณ์ตึงเครียดอยู่ในเวลานี้

นอกจากนั้น ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปไกลมากของโลกตะวันตก ทำให้คนตะวันตกหนีจากพระเจ้า ทิ้งศาสนาไปหมด แล้วหันมายึดวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (เป็นพระเจ้า) แทน

(โดยความรู้ของมนุษย์ก็เชื่อหรือยึดถือแต่ ความรู้ที่ได้จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และสังคมศาสตร์ เลยจากความรู้เหล่านี้ก็บอกว่าเป็นเรื่อง "ไม่รู้" หรือ "unknown" หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแล้วหาความรู้อะไรมาอธิบายกันไม่ได้ก็บอกว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ (random shock/ random event) แต่ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นดีก็จะเชื่อในพระเจ้ามาก)

คนตะวันตกเมื่อหันกลับไปหาพระเจ้าไม่ได้ ก็จะหันมาหาพุทธว่าเป็นทางออกสำหรับโลกภายในของมนุษย์ ขณะที่พุทธในทรรศนะของปราชญ์ตะวันตกก็บอกว่าไม่ใช่ศาสนา เพราะไม่มีพระเจ้า แต่เป็นปรัชญาอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล บนพื้นฐานของความคิดของมนุษย์ (พระพุทธเจ้าคิดเอง เป็นความคิดของมนุษย์)

หรือคนอเมริกันที่โดยเฉลี่ยเป็นคนประเภทชาตินิยมสูงและเคร่งศาสนามาก พยายามนำศาสนาเข้ามาใช้นำทางชีวิต (ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก) แต่ดูเหมือนคนอเมริกันกลับไม่มีส่วนจิตวิญญาณ (ส่วนสำนึกดีชั่วและบาปบุญหรือความถูกต้อง ความชอบธรรม ความยุติธรรมและลักษณะอื่นๆ เฉกเช่นเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า) อยู่ในตัวเอง (spiritual being) คนอเมริกันและสังคมอเมริกันจึงมีปัญหาเรื่องคนและปัญหาความเสื่อมทางสังคมมาก (แม้จะมีความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปไกลมากและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ)

เช่นเดียวกับประเทศไทยที่คนไทยกว่า 90% นับถือศาสนาพุทธ แต่ก็เป็นชาวพุทธแต่ในนาม หรือตามขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบทอดกันมา หาใครที่จะใช้ชีวิต หรือประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมะของศาสนา ได้ยากเต็มที ต่างขาดศีลธรรม/ จริยธรรมกันไปหมด ปัญหาการโกงกินบ้านเมืองจึงเกิดขึ้นกันไปทั่วและคนไทยกลายเป็นคนประเภทมือถือสากปากถือศีล หรือหน้าซื่อแต่ใจคดกันไปหมด (ทั้งๆ ที่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ล้วนสอนคนให้เป็นคนดี ถ้าเราดำเนินชีวิตโดยยึดหลักศาสนาที่เรานับถือกันจริงๆ ก็พอจะช่วยให้มีชีวิตที่ดีกันไปได้)

หรือแม้ลึกๆ จริงๆ แล้ว มนุษย์เราก็ยังรู้สึกในเรื่องดีชั่วและบาปบุญ แต่ดังกล่าวก็ไม่ค่อยมีใครจะเลือกเดินทางนี้ ก็ไปเลือกทำตามวิถีทางที่มนุษย์สร้างกันขึ้นมา แล้วก็บอกว่าทางนั้น (ทางที่มีสำนึกดีชั่วและบาปบุญ) มันไม่เป็นไปตามความเป็นจริง (idealistic) แต่ทางที่เดินตามกันมามันเป็นไปตามความเป็นจริง หรือเป็นไปในทางปฏิบัติ (realistic/ practical)

ตัวอย่างสภาพการณ์ต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น ทำให้มนุษย์กลายเป็นมนุษย์ที่ล้มละลายทางจิตวิญญาณ (หรือมนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์ หรือ "animals") หรืออาจเรียกว่าเป็นสภาพการณ์ที่ "มนุษย์เป็นขบถต่อพระผู้เป็นเจ้า" (หรือมนุษย์ตั้งตนเป็นพระผู้เป็นเจ้าเองด้วยความทระนงในความรู้และสติปัญญาของมนุษย์เอง แม้จะไม่พอเพียงอย่างมากที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้) หรือเป็นปัญหาที่มนุษย์ไม่มีศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ หรือปัญหามนุษย์ไม่มีพระเจ้าเป็นผู้นำทางชีวิต หรือเป็นปัญหาที่มนุษย์นมัสการพระเจ้าองค์ผิดๆ (wrong god)

ทำให้มนุษย์เดินหลงทาง ทำให้มนุษย์ยิ่งหาทาง ออกให้กับชีวิตภายในของตนเองไม่ได้ ยิ่งสับสนกับชีวิตกันมาก ไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร? เรามาจากไหน? ใครเป็นคนสร้าง? เราใช้ชีวิตกันมาอย่างไร? เรามาถึงไหนกันแล้ว? แล้วเรากำลังจะไปไหนกันต่อไป? หรือในท้ายที่สุดแล้วใคร (ยิว คริสต์ อิสลาม ฮินดู พุทธ ขงจื้อ/เต๋า) จะเป็นที่พึ่งให้แก่มนุษย์ได้จริง?


ชีวิต (มนุษย์) คืออะไร ? (ต่อ)

ตามหลักศาสนาพุทธ มนุษย์ต่างจากสัตว์ทั่วไป "มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ" มนุษย์สามารถมีพัฒนา การเพื่อที่จะเติบโตตามศักยภาพอย่างเต็มที่ของมนุษย์ได้ ถ้าอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง ตัวอย่างออกมาเป็นพระพุทธเจ้า พระโมฮัมหมัด นักวิทยาศาสตร์ยิ่งใหญ่ของโลก หรือเป็นพระเยซูคริสต์

ส่วนความรู้จากวิทยาศาสตร์ มนุษย์มีวิวัฒนา การมา 5 ล้านปี จากเป็นลิงชิมแปนซีมา 5 แสนปี แล้วกลายมาเป็นมนุษย์

และความรู้จากผู้รู้ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ (The Science of God) ชี้ให้เห็นว่า พระวัจนะในพระคัมภีร์ (Bible) ให้ความจริง (เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งมวลในจักรวาล) ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ (physical science)

ต่างเชื่อกันว่า "ธรรมชาติ" ที่เราต่างเห็นกันนั้นมีการออกแบบ (design) หรือมีคนออกแบบ แต่ (กลับ) ไม่มีใครพูดถึง ถามถึงว่าใครคือ "ผู้ออกแบบ" (designer) (เทียบเคียงได้กับคำพูดที่ว่า "ชีวิตคนเราได้ถูกออกแบบเอาไว้แล้ว" หรือ "ชีวิตถูกลิขิตเอาไว้แล้ว")

จึงเชื่อว่า "พระเจ้ามีอยู่จริง" (ไม่เกี่ยวกับศาสนา) และพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ตามฉายาของพระองค์ (created in the image of God) มนุษย์จึงต้องเชื่อฟัง ต้องอ่อนน้อมถ่อมตนและจงรักภักดีต่อพระเจ้า เพราะพระเจ้ามีแผนการชีวิตที่ดีสำหรับทุกคน (ซึ่งต่างเป็นลูก/สาวกของพระผู้เป็นเจ้า)

พระเจ้าไม่เพียงสร้างมนุษย์ แต่สร้างสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหมดและสรรพสิ่งทั้งมวลในจักรวาล แต่มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาให้ยิ่งใหญ่ที่สุด ให้มนุษย์ครอบครองเหนือบรรดาสรรพสิ่งมีชีวิตและสรรพสิ่งทั้งมวลในจักรวาล

มนุษย์จึงสามารถเป็นนายเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์จึงสามารถเป็นอะไรก็ได้ (God given freewill/freedom of action) สามารถเติบโตเต็มที่ได้ตามศักยภาพ และมนุษย์เมื่อเติบโตเต็มศักยภาพหมด (full potential) ต้องเป็นมนุษย์รอบด้าน คือ มนุษย์ที่มีความเจริญทุกด้านทั้งจิตใจ (mind) สมอง (brain) และจิตวิญญาณ (spirit & soul)

แต่เมื่อพระ เจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาแล้ว (มนุษย์คู่แรกคืออดัมและอีฟ) ต่อมามนุษย์กลับไม่เชื่อฟังพระเจ้า ไปทำในทางตรงกันข้ามกับที่พระเจ้าห้ามไว้/บอกไว้ ทำให้มนุษย์ต้องถูกตัดขาดจากการมีความสัมพันธ์กับพระผู้เป็นเจ้า นับแต่นั้นมามนุษย์จึงเป็นคนมีบาปติดตัวมาแต่กำเนิดเลย (sinful)

การเป็นคนบาปของมนุษย์ ทำให้สำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ที่ต่างจากสัตว์ (สำนึกที่รู้ว่าอะไรดีชั่วและบาปบุญหรือส่วน spirit & soul หรือที่อาจเรียกว่าส่วนชีวิตภายในของมนุษย์) มันจึงเสื่อมถอยลง ขาดตกบกพร่องมาก หายไปหมดหรือมันจึงตายไปหมดจากชีวิตของมนุษย์เรา (spiritually dead)

มนุษย์เราในโลกจึงสามารถทำสิ่งที่เป็นบาปเป็นความชั่วร้ายทั้งต่อชีวิตตนเองและต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้นเรื่อยๆ โลกมนุษย์จึงขาดความสุข เต็มไปด้วยการฉ้อฉล การโกหกหลอกลวงกัน เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เชื่อถือและไว้วางใจในกันและกันไม่ได้ เกิดความขัดแย้งและแตกแยกทั่วโลก มนุษย์จึงทำสงคราม มนุษย์จึงรบราฆ่าฟันเพื่อทำลายล้างมนุษย์ด้วยกัน เกิดการก่อการร้าย ขาดความปลอดภัย ขาดสันติภาพขึ้นทั่วโลก และชีวิตมนุษย์ต้องเผชิญกับหายนะจากภัยธรรมชาติและโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ และแปลกๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย (จนนักวิทยาศาสตร์ของโลกไม่สามารถค้นพบตัวยาและวิธีรักษาโรคต่างๆ เหล่านั้นกันได้ทัน)

แทบจะกล่าวได้ว่า สถานการณ์โลกในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ "มนุษย์รบกับพระผู้เป็นเจ้า" จริงๆ เป็นกันเช่นนี้ทั้งโลก เป็นสถานการณ์นี้ทั้งมนุษยชาติเลย (เช่นเดียวกับปัญหาของคนไทย/ ปัญหาประเทศไทยตอนนี้ "หาศัตรูไม่ได้" (ทำลายตนเองและทำลายผู้อื่น/ทำลายลูกหลาน) เป็นปัญหาที่เรา "ตั้งตนเป็นพระเจ้า" ทุกคน จึงมีแต่ "ตั้งกู" "ตั้งกู ตั้งมึง" หรือ "ตั้งเก่ง" กันทั้งนั้น)

ตามคำบันทึกในพระคัมภีร์ พระเจ้าได้สำแดงพระองค์เองต่อมนุษย์ เพราะความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์ ด้วยเห็นภัยอันตรายที่จะเข้าใกล้มาถึงมนุษย์ และเพื่อที่จะให้มนุษย์เข้าใจถึงพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและแผนการยิ่งใหญ่ของพระองค์ พระเจ้าจึงส่งพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นพระบุตรเพื่อมาไถ่บาปมนุษย์ (นำมนุษย์ให้เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า) โดยยอมสละชีวิตตนเอง (โดยการสิ้นพระชนม์) บนไม้กางเขน

โดยพระลักษณะของพระเยซูคริสต์ (ที่คริสตชนเชื่อว่าพระองค์เป็นพระเจ้าผู้มาเกิดในสภาพเป็นมนุษย์ดังกล่าว) คือพระผู้ช่วยให้รอด คือผู้นำที่แท้ นั่นคือผู้นำที่ช่วยให้เกิดผลนิรันดร์ เพราะเป็นคนที่ไม่คิดถึงตนเองเลย ไม่เห็นแก่ตัวเองเลย เกิดมาเพื่อทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น คนที่จะเป็นเช่นนั้นได้ต้องมีความรัก (absolute love) มีความเมตตากรุณา (absolute kindness) ต่อผู้อื่นเป็นที่สุด มีความเป็นมนุษย์มาก มีความถ่อมตน มีสติปัญญาและมีความถูกต้อง ความชอบธรรม ความยุติธรรมเป็นที่สุด (absolute rightiousness) ผู้นำเช่นนั้นจึงเป็นผู้สร้างคนอื่นได้

เพราะฉะนั้น มนุษย์เราที่ถูกสร้างมาตามฉายาของพระผู้เป็นเจ้าก็จะเข้าใจชีวิต จะมองเห็นค่าของชีวิต จะมองเห็นภารกิจของชีวิตเช่นเดียวกับพระผู้เป็นเจ้าก็คือ เกิดมาเพื่อทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และมีลักษณะของมนุษย์เช่นเดียวกับ พระลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าดังข้างต้นอยู่ในตัวเราเอง (spiritual being) ในฐานะฉายาของพระผู้เป็นเจ้า (ไม่เพียงแต่เข้าใจ/เชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่จริงเท่านั้น)

มาตรฐานความเป็นมนุษย์ของเราบางคน (แม้อาจจะดีกว่ามนุษย์อื่น) ตามมาตรฐานของมนุษย์ด้วยกัน (man-made standard) แต่ตามมาตรฐานของพระผู้เป็นเจ้าแล้วเรา "ต่ำเตี้ย" หรือตามมาตรฐานของพระผู้เป็นเจ้า "มนุษย์" หรือ "คน" เป็นเพียงแค่ "เศษขยะ" เลย

เพราะฉะนั้น พวกที่บอกว่าเป็นมนุษย์ ความจริงแล้วเป็นเพียง "animals" ดำรงชีวิตหลักใหญ่เพียงเพื่อ "ความอยู่รอด" และ "ความสุขความพอใจทางกาย" (physical pleasure) เท่านั้น (ดังกล่าว) ความจริงชีวิตที่มีค่า ก็คือ ชีวิตที่เกิดมาเพื่อทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ไม่เห็นแก่ตัวเองเลย ทำตนให้สมกับที่มนุษย์ถูกสร้างมาตามฉายาของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ทำเพื่อชื่อเสียง โชคลาภ ความมั่งคั่งหรืออำนาจ

ถ้ามนุษย์เราไม่ยอมจำนนแก่พระผู้เป็นเจ้า เรายังเป็นคนบาปหรือทำบาปกันต่อไป เราก็จะต้องถูกลงโทษ (แม้พระผู้เป็นเจ้าจะรักมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเพราะทุกคนล้วนเป็นลูกของพระผู้เป็นเจ้า)

ดังกล่าวจึงมีปัญหาเรื่องความรู้/ความจริง (knowledge/truth) ของมนุษย์มาก (โดยเฉพาะปัญหาเรื่องนี้สับสนกันมากในประเทศไทย เราคนไทยทุกคน "ห่างไกลจากความจริงมาก") ที่แม้แต่ความจริงทางวิทยาศาสตร์ (physical science) ก็ผิดได้ (ยังไม่ต้องพูดถึงความรู้สังคมศาสตร์ทั้งเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยายิ่งห่างไปไกลจากความรู้/ความจริงๆ)

มนุษย์เราถ้าจะรู้จริงได้ ต้องเป็นโดยพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ให้เห็นความจริง (god given truth/god revealed truth) นักวิทยาศาสตร์ชั้นดีจึงเชื่อพระผู้เป็นเจ้ามาก (อาจจะไม่ใช่ตามแนวคิดทางศาสนา) เพราะฉะนั้นความรู้/ความจริงของมนุษย์ที่น้อยกว่านั้นล้วนเพ้อหมดหรือเพี้ยนไปจากความรู้/ความจริงหมด

มนุษย์เราจึงต้องมีพระเจ้าเป็นผู้นำทางชีวิต ถ้าไม่มีพระเจ้าอยู่ในชีวิต เราจะรู้จริง จะเห็นความจริงด้วยตัวเราเองไม่ได้ (self truth) เราจะรู้สึกสิ้นหวัง เราจะเห็นว่าหนทางชีวิตมันตัน ทำอะไรจะต้องอาศัยฤทธาของพระผู้เป็นเจ้า (หรือมนุษย์เราต้องเป็นเครื่องมือของพระผู้เป็นเจ้า) ทำอะไรจึงจะบังเกิดผล บังเกิดผลดี

เพื่อให้มีทางออกสำหรับชีวิตมนุษย์ มนุษย์ต้องกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์ต้องทิ้ง "เรา" ที่เป็นมนุษย์คนเดิม (old identify) หรือต้องเกิดใหม่ (reborn) ต้องเป็นคนใหม่หมด (new identity) ไม่มีทางเลือกอื่น ไม่เช่นนั้นปัญหาอะไรก็จะแก้ไม่ได้ ก็จะหลงกันหมด (ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของคนไทย แต่เป็นปัญหาของมนุษยชาติทั้งโลก)

และเพราะฉะนั้นทางออกของปัญหาประเทศไทยโดยเฉพาะจึงมองเห็นว่า (มันเกินกว่าจะเป็น act of man) จะต้องเป็นการดลบันดาลโดยพระผู้เป็นเจ้า (act of God) หรือเป็น "miracle way out" (ผู้เดียวที่จะทำให้เกิดปาฏิหาริย์ได้ก็ต้องเป็นพระผู้เป็นเจ้า)


ชีวิตเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างไร

คนเราที่เกิดมาเป็นธรรมดาที่ต้องอยู่ต้องกินเพื่อความอยู่รอดและเพื่อความสุขความพอใจอย่างอื่นของชีวิต คนเราจึงต่างเสาะแสวงหาสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการอยู่กิน หรือความต้องการในการบริโภคของตน (consumption)

โดยในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าความอยากหรือความต้องการของคนเรา (needs and wants) ที่จะได้รับการตอบสนองด้วยสินค้าและบริการต่างๆ มีอยู่อย่างไม่จำกัดหรืออย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เพราะฉะนั้น (ความสามารถ) ในการที่จะมีสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งที่จำเป็น และฟุ่มเฟือยมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคของผู้คนในสังคม จึงถือว่าเป็นแหล่งที่มาแหล่งหนึ่ง ของความมั่งคั่งเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ของประเทศ (wealth of nation) ตามความคิดของอาดัม สมิธ (นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์)

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็หมายความว่า การที่คนเรามีอยู่มีกินกันมากๆ แล้ว หรือเรา "กินอิ่มท้องโต" กันแล้วก็บอกว่าเศรษฐกิจเจริญนั่นเอง

ดังตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่ถือว่าเป็นประเทศผู้นำอันดับ 1 ของเศรษฐกิจโลก ที่เมื่อ เศรษฐกิจของประเทศเจริญก้าวหน้าแล้ว ประเทศร่ำรวยขึ้นแล้ว คนอเมริกันที่ร่ำรวยกันขึ้นก็จะใช้จ่ายเงินในการเลือกซื้อเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆกันมาก ทำให้ผู้คนต่างมีสินค้าฟุ่มเฟือยบริโภคกันโดยทั่วไป อเมริกาจึงถูกกล่าวถึงว่าเป็นแบบอย่างของ "เศรษฐกิจบริโภคนิยม" (affluent economy) หรือเป็น "สังคมอุดมโภคา" (high-mass consumption) และนี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาขาดดุลมาก

(ดังกล่าว) จึงเป็นที่มาหรือจุดอ่อน หรือข้อขาดตกบกพร่องของวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่เน้นให้ความสำคัญ กับการตอบสนองความต้องการ ทางกายภาพหรือ

ทางวัตถุของมนุษย์มาก หรือการที่ "กินอิ่มท้องโต" แล้วบอกว่าเศรษฐกิจเจริญ ทำให้วิชาเศรษฐศาสตร์ กลายมาเป็น "วิชามาร" (dismal science)

บนลักษณะหรือธรรมชาติของความต้องการ ในการบริโภคของคนเราซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะเป็นความต้องการ "ทางกายภาพ" หรือ "ทางวัตถุ" หรือเป็นความต้องการ "ทางกายภาพเป็นพื้นฐาน" เช่น ต้อง การความยิ่งใหญ่ ต้องการความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยทางกายภาพ (เป็นต้น) นั้น แล้วมันมีการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราอย่างไร (production)

โดยเฉพาะในปัจจุบันที่แบบแผนของความต้อง การทางกายภาพของมนุษย์ (ตัวอย่างชีวิตผู้คนทางยุโรป และประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าอื่น) มันออกมาทางผลิตภัณฑ์ประเภทไฮเทค เช่น คอมพิวเตอร์ ทีวี ไอที และผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีอื่นๆ นั้น แล้วมันมีปัญหาอะไร มันมีปัญหาว่า "มันไม่ได้มีความต้องการสินค้าเหล่านี้ ของผู้คนเกิดขึ้นมาก่อน" แต่เกิดจาก "มันมีเทคโนโลยี หรือการผลิตสินค้าเหล่านี้เกิดขึ้นมาก่อน" แล้วก็ใช้การโฆษณา และมาตรการทางการตลาด และการส่งเสริมการขายอื่นๆ กระตุ้นให้ผู้คนเกิดความต้องการตามมา

ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากอิทธิพลของพลังการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่กำหนดความเป็นไปของชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษยชาติในโลก โดยเฉพาะพลัง ขับเคลื่อนที่สำคัญแรกสุด คือ พลังของเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศโดยพลังของมันเองก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรม

และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ขับเคลื่อนโดยรสนิยมและความพอใจของมนุษย์ประเภทที่เน้นชีวิตข้างนอก (คือมนุษย์ประเภทที่ให้ความสำคัญ กับความรู้ข้างนอกของมนุษย์ คือ ความรู้วิทยาศาสตร์ทั้งความรู้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และความรู้สังคมศาสตร์) และการมีเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน เข้ามาใช้ในการทำงาน มันรุกทะลวงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ซึ่งก่อขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว โดยเชื่อว่าก่อขึ้นโดยนักการตลาดหรือสัตว์หรือพวกที่หากินจากกำไรหรือพวกที่หากินกำไรจากการค้า

การตัดสินใจจัดสรร/ใช้ทรัพยากร หรือทุนโดยรวมที่โลกมีอยู่ไปในการผลิตสินค้าไฮเทคเหล่านี้ โดยเฉพาะที่มันสารสนเทศมากๆ ขึ้นไปด้วยมองเห็น "ค่า" หรือ "ประโยชน์" อะไร ตามวิสัยทัศน์ของผู้นำทางด้านนี้บอกว่า มันไม่ใช่เพื่อความสะดวกสบาย แต่เพื่อปรับปรุง/เพิ่มผลิตภาพ/ประสิทธิภาพของทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีขึ้น ทั้งทำให้คนจนหายจนได้หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน นี่มันออกมาเป็น "พระเจ้า" กันอย่างนี้โดยกระตุ้นผ่านทางสื่อต่างๆ

ประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ลงทุนมากมายมหาศาลในการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้ขึ้นมา (เป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตของประเทศ) และเมื่อร่ำรวยขึ้นมาจากการขายผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ส่งทั้งทุนและผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีมาให้ประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหลาย โดยหวังว่าประเทศเหล่านี้จะซื้อพวกนี้ไปแล้วก็จะไปช่วยให้เกิดการลงทุนในการผลิตสินค้าอื่นๆ ตามมา ก็หวังว่าจะทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่เหล่านี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง หรือต่างร่ำรวยขึ้นอย่างประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าบ้าง

บรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมทั้งประเทศไทย ที่ต่างพยายามจะหากิน ตามอย่างประเทศพัฒนาแล้ว โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการขยายการเจริญเติบ โตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศ ขณะที่การเกษตรก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร/ ยังมีปัญหาอยู่อีกมาก และขาดแคลนปัจจัยที่จะหากินจากอุตสาหกรรม จึงต้องอาศัยพึ่งพาการนำเข้าทรัพยากรจากต่างประเทศ ทั้งทุน เทคโนโลยี สินค้าและบริการต่างๆ จากต่างประเทศ

แต่ในที่สุดเมื่อฟองสบู่แตก ทำให้อุปสงค์หรือความต้องการผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาก (ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศพัฒนาแล้ว) มันจึงไม่เป็นไปตามความคาดหวัง มันหยุดลงก่อนที่จะคืนทุนได้หมด เพราะประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้นไม่มีเงินจะมาใช้จ่ายซื้อสินค้าเหล่านี้อีก

(จะให้ประเทศเหล่านี้ร่ำรวยกันขึ้นมาได้อย่างไร ในเมื่อประเทศเจ้าของทุนและเทคโนโลยีก็เอา ค่าเทคโนโลยี เอาค่าทุน เอาค่าออกแบบผลิตภัณฑ์ และเอาค่าบริหารกันไปหมดแล้ว หรือจ่ายค่าดอกเบี้ย จ่ายค่าความรู้ จ่ายค่าเทคโนโลยี และจ่ายค่าบริหารไปหมดแล้ว เหลือไว้ให้เพียงค่าจ้างแรงงานอันน้อยนิด แล้วจะให้รวยกันขึ้นได้อย่างไร) และในขณะเดียวกันจะขายให้ประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเองตลาดมันก็อิ่มตัวแล้ว จึงเป็นที่มาของปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกหรือปัญหาการเติบโตที่ชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกแม้จนถึงเวลานี้

ภาวะการตกต่ำของผลิตภัณฑ์ไฮเทคโดยเฉพาะเทคโนโลยีโทรคมนาคมและสารสนเทศ มันแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มันไม่ได้มี "ค่าจริง" (แม้หลายคนยังเชื่อว่า ให้ลงทุนหนักเข้าไปอีกจะแก้ปัญหาได้ เพราะซื้อคอมพิวเตอร์ใส่เข้าไปจะช่วยประสิทธิภาพในการทำงาน ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ต้นทุนก็จะดีขึ้น และยังมีเสียงขู่ออกมาให้ช่วยกันซื้อ ไม่เช่นนั้นแล้วเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็จะตกต่ำต่อไป ก็จะไปไม่รอด)

จึงต้องตั้งคำถามว่า "มีความรู้เศรษฐศาสตร์กันไปเพื่ออะไร ?" (goal or persuit of knowledge ?) "นักเศรษฐศาสตร์หาความรู้กันไปทำไม ?" มันจะต้องมีการรื้อเป้าหมายความกินดีอยู่ดีทางเศรษฐกิจ (economic wellbeings) หรือมันจะต้องรื้อฟังก์ชันสวัสดิการทางเศรษฐกิจ (economic welfare function) ของวิชาเศรษฐศาสตร์

เพราะไปสนับสนุนการเอาทรัพยากรที่หายากหรือมีอยู่อย่างจำกัดมาทุ่มเทให้กับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ซึ่งถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ก่อนยังเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์) ซึ่งถือเป็นปัญหาการจัดสรรทรัพยากรผิดและจะไม่มีทรัพยากรเหลือไปพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะที่ยังมีประชากรจำนวนมากของโลกที่ต้องตายเพราะไม่มีอาหารจะกิน

เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ออกจากวิชาเศรษฐศาสตร์หรือถ้าไม่อยู่เหนือวิชาเศรษฐศาสตร์ เราจะสร้างวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อค่าเพื่อประโยชน์ของมนุษย์กันไม่ได้


'ชีวิตเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีที่ครอบงำเหนือด้านอื่นของชีวิตมนุษย์ ทำให้ด้านศีลธรรมของมนุษย์หมดไป เช่นเดียวกัน การให้ความสำคัญกับทางด้านเศรษฐกิจโดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยแรงผลักดันจากวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ไปทำลายด้านศิลปะ/ศีลธรรมไปหมด กลายมามีวัฒนธรรมที่รับใช้อุตสาหกรรมหรือแม้แต่วัฒนธรรมก็รับใช้อุตสาหกรรม "อุตสาหกรรมจึงเป็นพระเจ้า" หรือการมุ่งแต่หากำไรของนายทุน (อุตสาหกรรมคือการผลิตอย่างเดียวที่แสวงหากำไร อย่างอื่นไม่ใช่เลย) ก็ไปทำลายคุณค่าดีๆ ของมนุษย์กันไปหมด

เมื่อเป็นเช่นนี้อุตสาหกรรมมันจะพาเราไปไหน มันทำให้มนุษยชาติเป็นอย่างไร ประเทศรวยที่สุดเป็นอย่างไร และประเทศยากจนที่สุดเป็นอย่าง ไร

ดังกล่าวระบบอุตสาหกรรมเน้นกำไรซึ่งเป็นกลไก/แนวคิดเพียงอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่นเลย ประเทศไม่มีจะกิน จิตวิญญาณ (spirit & soul) ก็ตายเหมือนกันเพราะพยายามจะหากินตามแบบอย่างประเทศที่ร่ำรวย กลายเป็นหากินแบบนี้กันไปหมดทั้งคนรวยและคนจน จิตวิญญาณทั้งของคนรวยและคนจนมันจึงตายหมด ความรู้สึกและสำนึกดีๆ ไม่มีกันเลย คนจำนวนมากที่ยากจนก็จะกินคนรวยเพราะต่างก็ไม่มีจิตวิญญาณ

ประเทศรวยและคนรวยก็จะติดขัด ก็จะตาย คนจะตายก็จะดิ้น เพราะฉะนั้นถ้าไปตามทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยแรงผลักดันจากวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าดังกล่าว ซึ่งมันไปทางนั้นกัน ผลสุดท้ายก็จะเป็นอย่างไร จะออกมาเป็นอย่างไร มันก็จะไปกันไม่รอด มันก็จะพังกัน

แต่สำหรับคนที่ยังไม่ตายทางจิตวิญญาณ ยังมีความเป็นมนุษย์หรือเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตข้างใน (ชีวิตข้างใน/ความรู้ข้างในของมนุษย์เป็นเรื่องของความสวยงาม ความมีรสนิยม ศิลปะ หรือเป็นด้านศีลธรรม/จริยธรรมของมนุษย์) หรือถ้าเป็นมนุษย์ที่มีพระเจ้า (พระเจ้าองค์เที่ยงแท้) เป็นผู้นำชีวิตแล้วมันก็จะเป็นมนุษย์ที่มีความเชื่อ/ ค่านิยมที่แตกต่างออกไป จากพวกมนุษย์ที่เน้นชีวิตข้างนอก/ ความรู้ข้างนอกของมนุษย์ดังข้างต้น

เป็นต้นว่า จะเชื่อว่า "พระเจ้ามีอยู่จริง" และพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ตามฉายาของพระองค์ มนุษย์ที่มีพระเจ้าเป็นผู้นำชีวิตจึงมองเห็นความหมายของชีวิต มองเห็นค่าของชีวิต หรือมองเห็นภารกิจของชีวิต เฉกเช่นเดียวกับพระเจ้า (พระผู้สร้าง) คือมองเห็นชีวิตที่มีค่า คือชีวิตที่เกิดมาเพื่อทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว (อะไรที่เราทำต้องดีสำหรับคนอื่นด้วย จึงจะดีแท้สำหรับเราเอง) มีความซื่อตรง (ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น) มีความเชื่อ/ความศรัทธาในฤทธิ์เดช /พลังอำนาจของความถูกต้อง ความ ชอบธรรม และความยุติธรรม ตลอดจนมีความห่วงใย มีความรักและความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น (รักเพื่อนบ้าน/รักผู้อื่นเฉกเช่นเดียวกับที่เรารักญาติพี่น้องและรักตนเอง) ถ่อมตนและใช้ชีวิต หรือทำตนให้สมกับที่มนุษย์ถูกสร้างมาตามฉายาของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่มุ่งทำเพื่อเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ โชคลาภ ความมั่งคั่งหรืออำนาจ

เพราะมองเห็นว่าความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ในทางวัตถุ/ทางกายมีผลเพียงเล็กน้อยต่อชีวิตที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้รับจากการปลดปล่อยวิญญาณชั่วร้ายออกจากตน หรือเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินชีวิตที่ปราศจากอารมณ์ ตัณหา และกิเลสต่างๆ โดยการปฏิเสธสิ่งเหล่านี้บุคคลก็จะบรรลุถึงความสงบสุขในจิตใจซึ่งสภาพการณ์ภาย นอกไม่อาจรบกวนได้

เพราะฉะนั้น คนประเภทเหล่านี้ก็จะไม่ใช่พวกนิยมวัตถุหรือพวกบ้าวัตถุ จะไม่ได้ชอบขี่รถคันใหญ่ ไม่ได้ชอบมีวัตถุหรือสะสมวัตถุเอาไว้โอ้อวด หรือไม่ได้ชอบความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยทางกายภาพต่างๆ

ความต้องการบริโภคเพื่อความอยู่รอดในการดำเนินชีวิตและสนองความพอใจอย่างอื่นของคน จึงไม่เพียงแต่ความต้องการบริโภคสินค้าจำเป็น หรือสินค้าทางวัตถุเท่านั้น (material goods) มนุษย์เรายังต้องการบริโภคศิลปะ หรือต้องการบริโภคสินค้าที่เป็นงานศิลป์ (artistic goods) และการบริโภคสิน ค้าที่ตอบ สนองความต้องการทางจิตใจ (psychic goods) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้คิดถึงสินค้าประเภทนี้

ตัวอย่างสินค้าประเภทนี้ เช่น ความต้องการอิสรภาพและเสรีภาพ ความต้องการเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของคนอื่น ความต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม/ เท่าเทียมกัน ความต้องการอยู่ในสังคมที่คนไม่เห็นแก่ตัว/ ยอมรับนับถือและ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี สมกับความเป็นมนุษย์และการมีส่วนร่วมในสังคม เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้วยังต้องการบริโภคสินค้าทาง จิตวิญญาณ (spiritual goods) ตัวอย่างอาหารทางใจทั้งหลาย เช่น ความสุขความสงบภายในจิตใจ สำนึกในเรื่องดี/ชั่วและบาป/ บุญดังกล่าวมา

นี่เป็นการบริโภคที่ตอบสนองความต้องการอันหลากหลายและต่างๆ นานาของมนุษย์ ซึ่งการ มองการบริโภคไกลออกไป จากแบบจำลองเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม ที่แคบที่ดูเฉพาะการบริโภคสินค้าทางวัตถุ เป็นการขยายวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อไปเกี่ยว ข้องกับเรื่องอื่นๆ (เพราะทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยา ล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน)

เพราะฉะนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องขยายไปจากเดิม (เพราะตอนเมื่อยังไม่มีอยู่มีกิน ก็เป็นสินค้าทางวัตถุเท่านั้น แต่เมื่อเลยจากระดับมีอยู่มีกินกันแล้ว จึงต้องขยายการบริโภคออกมาดังข้างต้น) แล้วเพื่อตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของมนุษยชาติดัง ข้างต้น จะต้องมีการผลิตสินค้าที่ ตอบสนองความ ต้องการทางวัตถุ การผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้อง การทางจิตใจ และการผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณตามมาอย่างไร

จากข้างต้นจึงสะท้อนว่า หน้าที่ทางเศรษฐกิจอันควรของผู้ผลิต/ ผู้ขายไม่ใช่แต่เพียงการผลิต/ การเสาะแสวงหาสินค้า และบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางวัตถุ/ทางกายของผู้บริโภค/ ผู้ซื้อเพื่อแสวงหาผลตอบแทนในรูปรายได้ หรือกำไรสูงสุดเท่านั้น (profit maximization) แต่ต้องตอบสนอง หรือรับผิดชอบต่อความต้องการของผู้บริโภค และสังคมโดยส่วนรวมอย่างอื่นๆ ด้วย (business and social responsibility)

ดังการสนับสนุนโดยความคิดของอะริสโตเติล นักปราชญ์คนสำคัญของโลก (ผู้ซึ่งได้รับการยกย่อง ให้เป็นบิดาของหลายสาขาวิชา) ที่ต่อต้านลัทธิพาณิชย์นิยม และการแสวงหารายได้บางประเภทของบุคคล คือรายได้ประเภทกำไรและอัตราดอกเบี้ย จากการให้กู้ยืมเพื่อการสะสมทรัพย์สมบัติและความั่งคั่ง

เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติและผิดในแง่ศีลธรรม/จริยธรรม กิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ไม่ใช่เครื่องมือ ที่จะทำให้วิถีชีวิตมนุษย์ดำเนินไปในลักษณะที่ดีงาม การส่งเสริมการค้าและวิสาหกิจต่างๆ ได้นำมาซึ่งการแบ่งแยก ระหว่างคนรวยและคนจน ระหว่างคนมีทรัพย์สมบัติ และคนไม่มีทรัพย์สมบัติ ระหว่างผู้ถือครองที่ดิน รายใหญ่ รายย่อย และลูกจ้าง ระหว่างผู้ไม่มีที่ดิน

และขุนนางเจ้าของที่ดินที่สืบทอดเชื้อสายมายาว นานกับชนชั้นผู้มีเงินกลุ่มใหม่

แต่อะริสโตเติลก็ไม่ได้คิดว่ากิจกรรมทาง เศรษฐกิจทั้งหมดเป็นสิ่งผิดธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่

ยอมรับไม่ได้ในแง่ศีลธรรม/จริยธรรม ถ้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น หรือการผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้านั้น เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคของสมาชิกในสังคม เพื่อให้สมาชิกในสังคมมีมาตรฐานในการดำเนินชีวิต ไปสู่ระดับที่ต้องการซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะนำวิถีชีวิตของมนุษย์ไปสู่ภาวะที่ดีเท่านั้น (เพราะการขาดแคลนสินค้าบริโภคของชีวิตผู้คนในสังคมถือว่าเป็นชีวิตที่ไม่ธรรมชาติ) เพราะฉะนั้น กล่าวโดยสรุป "ชีวิตเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น" ก็คือการมุ่งลดความเป็นเปรต/ซาตาน การมุ่งลดบาปหรือการมุ่งลดความเห็นแก่ตัวของคนเรา ให้เหลือน้อยลง และการบริจาค การเผื่อแผ่ การจุนเจือหรือการแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้มีอยู่มีกินกันด้วย อยู่กันด้วยน้ำจิตน้ำใจกันดีกว่า เพราะเรื่อง "มีอยู่มีกิน" เป็นเรื่องธรรมดา (หรือเท่าที่จะมีได้) และเพราะ "สินค้า" เป็นสิ่งธรรมดาที่ต้องแบ่งปันกันระหว่างมนุษย์ในฐานะเป็นพี่น้องกัน

นี่ไม่ใช่เพียง "ชีวิตเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น" ของคนไทยเท่านั้น แต่เป็นของมนุษยชาติทั้งโลกด้วย

เครื่องมือส่วนตัว