ทุนทางสังคม
จาก ChulaPedia
ทุนทางสังคม คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ โดย...ดร.ฉวีวรรณ สายบัว ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 25 สิงหาคม 2546
ในบ้านเราเองก็มีการกล่าวอ้างหรือพูดถึง "ทุนทางสังคม" (social capital) กันมาก โดยเฉพาะในหมู่นักสังคมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์สถาบัน นักวิชาการ/ปัญญาชนอื่นและคนทำงานกับสังคม และประชาชนคือบรรดาคนเอ็นจีโอทั้งหลาย โดยการกล่าวอ้างหรือพูดถึงทุนทางสังคมมักเป็นไปในทำนองว่าบ้านเรา/ประเทศไทยเรามีทุนทางสังคม หรือมีทุนทางสังคมสะสมเอาไว้มาก (stock of social capital) ทุนทางสังคมคืออะไร และเรียกร้องให้มีการส่งเสริมการลงทุนในทุนทางสังคมกันให้มาก (social capital investment)
โดยความหมายของทุนทางสังคมที่มักชอบกล่าวอ้างหรือพูดถึงกันว่ามีมากคือ ปัญหาดั้งเดิม/ ปัญหาท้องถิ่นและวัฒนธรรมดั้งเดิม นอกจากนั้นแล้วบางท่านก็บอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 นี้ก็เป็นทุนทางสังคมไปแล้ว เพราะทำให้รัฐบาลที่ได้อำนาจมาจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีความชอบธรรม ในการบริหารการปกครองประเทศ (ขณะที่รัฐบาลเผด็จการทหารไม่มี) เพียงแต่ว่ารัฐบาล จะใช้ความชอบธรรมที่เป็นทุนทางสังคมนี้ ในการบริหารการปกครองประเทศอย่างไร ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) เพิ่มขึ้นให้แก่ความชอบธรรมนี้ได้ และยังมีทุนทางสังคมที่ให้ความหมายกันว่าเป็นทุนมนุษย์ ทุนทางสถาบัน (ครอบครัว โรงเรียน สมาคม องค์กรอาสาสมัครและองค์กรชุมชนต่างๆ) และในความหมายอื่นๆ อีก
ซึ่งทุนทางสังคมที่กล่าวอ้างหรือพูดถึงกันต่างๆ นานาดังข้างต้น น่าจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ยังคลุมเครือและไม่ชัดเจนอยู่มาก เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่รู้จริงๆ ว่าทุนทางสังคมคืออะไร แล้วจะให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร จะลงทุนอะไรที่ให้เป็นประโยชน์ต่อทุนทางสังคม ตัวอย่างลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อม ?
จริงๆ แล้ว "ทุนทางสังคม" น่าจะไม่ใช่เรื่องปัญหาดั้งเดิม/ปัญหาท้องถิ่นและวัฒนธรรมดั้งเดิมและอื่นๆ อย่างที่ว่ากัน แต่มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง เรื่องของคนมากมายมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม (จากธรรมชาติของมนุษย์เราที่อยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น)
เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้ว ก็ต้องมีระบบมีระเบียบ ของที่มันแย่ๆ เช่น ในสมัยโบราณที่เคยมีระบอบแบบ "พ่อปกครองลูก" เดี๋ยวนี้ความสัมพันธ์ของคนมันไม่เป็นแบบนั้นแล้ว คนจะเคารพนับถือกันก็ด้วยความสมัครใจจริงๆ
ทุนทางสังคมที่สำคัญสุดก็คือ เป็นเรื่องความสัมพันธ์ร่วมกันของบุคคลในสังคม (social relations) ที่ช่วยทำให้คนสามารถจะเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพได้
เวลาฝรั่งตะวันตกเขาใช้คำนี้เขามีความหมายแน่นอน :
นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกซึ่งกำลังโต้เถียงกันในเรื่อง "ทุนทางสังคม" เริ่มต้นจากการโต้เถียงกัน ในเรื่องความหมายของทุนทางสังคมว่ามันคืออะไร เน้นให้ความหมายทุนทางสังคม ไปในแง่ที่ว่าทุนทางสังคม มันก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศอย่างไร (wealth of nations) นอกเหนือจากแหล่งที่มาของความมั่งคั่งของประเทศ จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุ (น้ำมันหรือถ่านหิน) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ (ประเทศที่มีอากาศแบบอบอุ่น /ประเทศเมืองร้อน) สถาบัน (หลักนิติธรรม และระบอบการปกครองประชาธิปไตย) และความเชื่อใน (มือที่มองไม่เห็นของตลาด) การกระทำที่เห็นแก่ตัวเองของมนุษย์เป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดผลดีร่วมกัน
โดยเป็นนักสังคมวิทยาที่เป็นผู้ผลักดันแนวคิด "ทุนทางสังคม" นี้เพิ่มเติมเข้ามาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึง "ความไว้วางใจ" หรือ "ชุมชน" (trust or community) (ดังที่กล่าวมาถูกนักเศรษฐศาสตร์เอาไปใช้ด้วย)
กล่าวคือ ยิ่งคนเรายิ่งไว้วางใจในกันและกันยิ่งขึ้น สังคมของเขาก็จะยิ่งดีขึ้น (better off) ตัวอย่างคนอาจทำงานร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทางธุรกิจความไว้วางใจ อาจลบล้างความจำเป็น ที่จะต้องทำสัญญากันอย่างสลับซับซ้อน และดังนั้นก็จะช่วยประหยัดค่าทนาย หรือคนอาจคาดหวังว่า อเมริกาที่มีเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จ น่าจะมีทุนทางสังคม บรรจุไว้ในโรงเก็บ ซึ่งอาจใช่และอาจไม่ใช่ แต่ก็มีบทความที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ชี้ให้เห็นว่า คนอเมริกันน่าที่จะห่างไกลไม่มาก ที่จะเป็นสมาชิกขององค์กร สโมสร หรือสมาคมชุมชนในทศวรรษ 1990 มากกว่าที่เคยเป็นในทศวรรษ 1950
นักเศรษฐศาสตร์ที่มักเน้นวิเคราะห์ทุนทางสังคมในแง่ที่เป็นแหล่งก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศอย่างไรดังกล่าว กำลังพยายามหาคำอธิบายว่าความไว้วางใจหรือชุมชน (ซึ่งเป็นความหมาย หรือโฉมหน้าของทุนทางสังคมนั้น) สามารถสร้างความแตกต่างในความมั่งคั่งและความยากจนอย่างไร ซึ่งแนวความคิดนี้ไม่สอดคล้อง กับข้อสมมติพื้นฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่คนทั้งหลายนับถือที่เห็นว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัวเองอย่างสำคัญ (self-interested animals)
มีคำอธิบายสำหรับคำถามดังข้างต้นออกมาง่ายๆ ภายใต้ข้อสมมติว่า ผู้คนได้ประโยชน์จากการช่วยคนอื่น บนค่าใช้จ่ายของตัวเอง แต่แค่นี้ไม่เป็น การเพียงพอ ยังต้องการอะไรที่พิถีพิถันมากกว่านี้ จึงมีการทดลองโดยใช้นักศึกษามหาวิทยาลัย เพื่อที่จะดูว่ากลุ่มคนซึ่งสนับสนุนกัน และกันที่จะทำเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทั้งหมดอย่างไร ผู้ศึกษาพบว่าคนในบังคับ (ของกลุ่ม) หลายๆ คนได้รับความพอใจในการทำโทษคนที่ได้ประโยชน์โดยไม่ยอมจ่าย คนมากมายตอบสนองต่อความละอายแก่ใจ ของการที่ถูกพบว่าเป็นคนผิด ซึ่งส่งเสริมความร่วมมือกัน บทเรียนที่ได้รับจากการศึกษาโดยการทด ลองนี้ก็คือ ลักษณะของความเห็นแก่ตัวหรือแท้จริงแล้วความไม่เห็นแก่ตัว ความพอใจไม่สามารถอธิบายแรงจูงใจของผู้คนในหมู่บ้าน โรงเรียน หรือตำบล แต่ผู้ทดลองลงความเห็นว่าชุมชนเช่นนั้นต่างหากเป็นส่วนประกอบที่ขาดหายไป (เคียงข้างตลาดและรัฐ) ในการเข้าใจระบบเศรษฐกิจ
มีการศึกษาอื่นอีกที่ใช้ "บุคคล" (individuals) แทน "กลุ่ม" (groups) เป็นจุดเริ่มต้นในการใช้นิยามในแง่ที่เป็นบุคคลมากขึ้น ของทุนทางสังคม อันหมายถึงทักษะทางสังคมของบุคคล สิ่งอำนวยสำหรับการเกี่ยวข้องกับผู้คนอื่น หรือแม้แต่ความสามารถพิเศษ อันรวมถึงความเป็นที่นิยมถูกรวมเข้าไว้ในนิยาม นับตั้งแต่ที่มันอาจเป็นผลลัพธ์ของการลงทุน ในความสัมพันธ์ส่วนตัว และวัดการสะสมทุนทางสังคม ของผู้คนโดยจำนวนองค์กร สโมสรการกุศล กลุ่มทางศาสนาและอื่นๆ ที่เหมือนกันที่ผู้คนเป็นเจ้าของ
ผู้ศึกษามองทุนทางสังคมในฐานะบางสิ่งบางอย่างที่ผู้คนสร้างเพื่อพวกเขาทั้งหลาย มากกว่าในฐานะที่เขาสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน โดยการออมหรือการลงทุนหรือ "ทุนมนุษย์" โดยได้มาจากทักษะและการศึกษา ตัวอย่างหมออาจลงทุนมากกว่าเพียงด้านการศึกษาทางการแพทย์ของตน โดยเข้าร่วมกับสโมสรท้องถิ่น ซึ่งหมออาจรู้จักคนไข้ดีขึ้น และบางทีอาจทำให้รายได้ในอนาคตของหมอดีขึ้น
ผู้ศึกษาพบว่า การลงทุนในทุนทางสังคมตามที่เขานิยามขึ้น มีลักษณะเหมือนกับการลงทุนในทางการเงินหรือทุนมนุษย์ ผู้คนเข้าร่วมในสโมสรผู้ประกอบวิชาชีพเมื่อเขาอายุยังน้อย และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เมื่ออายุมากขึ้น เหมือนกับที่เขาทำกับเงินออม และผู้คนลงทุนมากขึ้นในทุนทางสังคมด้วย ซึ่งมีความน่าจะเป็นมากขึ้นที่เขาจะอาศัยในที่เดิม ยิ่งเขาลงทุนในทุนทางสังคมมากขึ้นด้วย เขาก็ยิ่งยืนหยัดที่จะเอาประโยชน์จากมันมากขึ้น เมื่อไม่มีอะไรในนั้นสำหรับเขาแล้ว เขาก็จะละเลยต่อเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม โดยนิยาม การที่บุคคลตัดสินใจลงทุนในทุนทางสังคม ไม่เพียงแต่มีผลต่อบุคคลที่ตัดสินใจ แต่มีผลต่อคนอื่นๆ ด้วย การลงทุนในทุนทางสังคม (ที่หมายถึงความไว้วางใจหรือชุมชน) จึงมีผลล้นสู่ภายนอก (spillovers) ในทางบวก แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้น ตัวอย่างถ้าผู้คนกระทำในแง่ที่เป็นผลประโยชน์ของกลุ่มที่เขาเป็นเจ้าของ คนอื่นๆ สามารถได้รับอันตราย ตัวอย่างสมาคมวิชาชีพแห่งหนึ่งอาจดำรงค่าธรรมเนียมและอุปสรรคในการเข้ามาสู่วิชาชีพเอาไว้สูง หรือบางกลุ่มอาจแยกคนภาย นอกออกไปด้วย
สำหรับสังคมไทยเห็นได้ชัดว่า ในความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม "จะไม่มีความสัมพันธ์กัน" "จะไม่ไว้วางใจกัน" "สร้างความไว้วางใจในกันและกัน (mutual trust) ไม่ได้" "ไม่มีความไว้วางใจ/ความซื่อสัตย์ (trustworthiness) หรือสิ่งเหล่านี้หายไปหมด" จึงไม่มีสภาพแวดล้อมที่จะทำให้คนอยู่กันอย่างมีความร่วมมือกันเกิดขึ้นได้
คุณทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) จะให้คนเกิดความร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาของบ้านเมืองทุกด้านได้อย่างไร เพราะคุณทักษิณเองก็เพียงรวมกลุ่มในหมู่พวกของตนเอง (พวกนักธุรกิจและพวกพ้องอื่นของตน) กลายเป็น "กลุ่มเดียว" "พรรคเดียว" ออกมาเป็น "ประชานิยม" ถ้าเป็นพวกเดียวกับคุณทักษิณก็ได้ประโยชน์ไป ไม่ใช่พวกเดียวกันคุณก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น คุณทักษิณจะรวมคนทั้งประเทศไม่ได้ พอไปไม่ไหว (แก้ปัญหาของประเทศของประชาชนไม่ได้) คุณทักษิณก็พร้อมจะไป
ดูความเป็นจริงทั้งหมดแล้ว ปัญหาประเทศไทยตอนนี้เป็นปัญหา "ความขัดแย้งทางสังคม" หรือ "ความแตกแยกทางสังคม" (social disintegration)