เราคือลูกของแม่พระธรณี

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(ทำหน้าว่าง)
แถว 1: แถว 1:
-
ผลพวงของการประกาศอิสรภาพจากการจัดจำแนกสายพันธุ์อันจำเจอยู่เพียง"เรื่องแต่ง(narrative)" หรือ "สารคดี(documentary)" ปฏิบัติการดั้นด้นค้นหาพิภพใหม่ทางภาพยนตร์จึงเกิดขึ้น
 
-
 
-
การเลี่ยงไปใช้นิยามอื่นเช่น เรื่องจริง(reality)ก็ใช่ว่าจะถอดชนวนปัญหาได้ราบคาบ แม้ว่าการฉายความเป็นจริงด้วยอารมณ์พาซื่อพลั้งปากจะถือเป็นทีเด็ดของหนังเหล่านี้ ในเมื่อประเด็นที่อยากจะจับให้มั่นคั้นให้ตายแตะต้องได้เพียงการตั้งแง่เหล่เขม้น สาระสำคัญของหนังเหล่านี้จึงเป็นการเปรยออกมาเท่าที่ยลยิน เถรตรงและถ่องแท้ และก็ไม่ใช่เรื่องจริงผักชีโรยหน้า(pre-arranged nonfiction)อันชวนตะขิดตะขวงใจอย่าง Nanook of the North งานดึกดำบรรพ์เมื่อค.ศ.1922 ของโรเบิร์ต ฟลาเฮอร์ตี(Robert Flaherty)
 
-
 
-
จะเป็นไรไปหากถือเสียว่าความเป็นจริงนั้นไร้จุดมุ่งหมาย และในการสังเกตการณ์สังคมตามหลักวิทยาศาสตร์ก็พึงสังวรณ์คติของไฮเซนเบิร์ก(the Heisenbergian notion)ที่ว่า การใดเป็นจริงได้ย่อมมาจากสังเกตการณ์ ผิดจากนี้ล้วนมีโอกาสปนเปื้อนอัตวิสัยอันแฝงด้วยเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ สุญญากาศของภาพยนตร์กับอภาพยนตร์หรือกล่าวให้แคบเข้าคือพื้นที่รกร้างหลงหูหลงตาจากอาณัติข้อเท็จจริงอันหยาบกระด้างและเรื่องแต่งอันประณีตคือแหล่งซ่องสุมความเป็นไปได้บ้าบอคอแตกสารพัดขนาน
 
-
 
-
มาเริ่มต้นด้วยหัวหอกแห่งการปฏิวัติวงการ La Libertad งานค.ศ.2001 ของลิซานโดร อลอนโซ(Lisandro Alonso) เนื้อหาของหนังที่เป็นทั้งสารคดีและเล่าเรื่องของคนตัดฟืนชื่อมิซาเอล(Misael)พาคนดูมุดเข้าไปขลุกในหวอดลับแลแทรกอยู่ในภาวะคาบลูกคาบดอกในความเป็นหนัง
 
-
 
-
แนวโน้มดังกล่าวเป็นผลพลอยได้จากสำนึกเลยเถิด(hyperconsciousness)ร่วมต่อหนังและอิทธิพลของหนังและคนทำหนังก็เริ่มตระหนักว่าเล่ห์กลของพวกตนคงหลอกคนดูได้อีกไม่กี่น้ำ จึงต้องวิจิตรบรรจงเป็นพิเศษ
 
-
 
-
ไม่ว่า่จะเข้าท่าหรือรนหาที่ แม่บทการผลิตงานดังกล่าวก็ฉุดกระชากหนังไถลออกจากปริมณฑลของสารคดีไปเข้าทางงานแนวประโลมโลกย์ก่อนจะเหวี่ยงกลับเข้าที่เดิมอีกที ยกตัวอย่างเช่นงานในค.ศ.2007 ของโฆเซ  หลุยส์  ตอร์เรส  เลวา(Jose  Luis Torres  Leiva)เรื่อง The Time That Rests(ต่อยอดงานของเฟรดริก  ไวส์แมน(Fredrick  Wiseman)ด้วยปณิธานกวี)  The Session Is Open(หนังว่าความหักหาญความรู้สึกที่ไม่มีพระ-นาง) งาน ค.ศ.2006 ของ วินเซ็นโซ  มาร์รา(Vincenzo  Marra) และ The Ghost of Cite Soleil งานค.ศ.2006 ของเอสเกอร์  เล็ธ(Asger  Leth) หนังสัจนิยมเพื่อสังคมแนวกำปั้นทุบดินแปลงร่างเป็นเศษหนังข่าวโฆษณาชวนเชื่อของไวคลิฟ  ฌ็อง(Wyclef  Jean)ในพริบตา ดาวโรจน์ในชั่วไม่กี่ปีหลังมานี้ต้องยกให้ภาพยนตร์ประเภทสรรหาและคลุกคลีอยู่กับกิจกรรม ณ พื้นผิวปฐพีของมนุษย์ [http://wp.me/p4vTm-MI อ่านทั้งหมด]
 
-
 
-
จักริน  วิภาสวัชรโยธิน
 

การปรับปรุง เมื่อ 00:46, 25 เมษายน 2556

เครื่องมือส่วนตัว