ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
แถว 13: แถว 13:
----
----
-
นายธนวัฒน์ กิจสุขสันต์  นิสิตระดับปริญญามหาบัญฑิต
+
นายธนวัฒน์ กิจสุขสันต์  นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาสรีรวิทยาการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิชาสรีรวิทยาการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รุ่นปัจจุบันของ 09:58, 17 พฤศจิกายน 2555

เนื้อหา

งานวิจัย


ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและสุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ

Effects of Combined Respiratory Muscle Training and Resistance Band Exercise on Respiratory Muscle Strength and Health-Related Physical Fitness in the Elderly Women



ผู้วิจัย


นายธนวัฒน์ กิจสุขสันต์ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต

สาขาวิชาสรีรวิทยาการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์



บทคัดย่อ


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและสุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครหญิงสูงอายุ อายุระหว่าง 60-74 ปี จำนวน 40 คน ถูกเลือกแบบสุ่มลงใน 3 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มฝึกกล้ามเนื้อหายใจเพียงอย่างเดียว กลุ่มฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดเพียงอย่างเดียว และกลุ่มฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด กลุ่มตัวอย่างทำการฝึกกล้ามเนื้อหายใจและฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า การฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าได้มากกว่าการฝึกกล้ามเนื้อหายใจหรือการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ายังมีผลต่อระยะทางที่เดินได้ภายใน 6 นาที ของหญิงสูงอายุ



ผลการวิจัย


หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า

1. หญิงสูงอายุในทุกกลุ่มมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหญิงสูงอายุในกลุ่มที่ 3 มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ามากกว่าหญิงสูงอายุในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า หญิงสูงอายุในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 เท่านั้นที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจออกเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. หญิงสูงอายุในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 เท่านั้นที่มีสุขสมรรถนะเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ มือไขว้หลังแตะกันและการนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่วนความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ได้แก่ การงอข้อศอกและการลุก-นั่งเก้าอี้มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า หญิงสูงอายุในทุกกลุ่มมีความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ได้แก่ การเดิน 6 นาที เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า หญิงสูงอายุในกลุ่มที่ 3 มีระยะทางการเดินภายใน 6 นาที มากกว่าหญิงสูงอายุในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05



คำสำคัญ


การฝึกกล้ามเนื้อหายใจ หมายถึง รูปแบบหนึ่งในวิธีการฝึกการบริหารการหายใจ (Breathing exercise) ซึ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจเข้า (กล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านนอก และกล้ามเนื้อพิเศษที่ช่วยในการหายใจเข้า) ทั้งกำลังกล้ามเนื้อและความอดทนในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ โดยอาศัยเครื่องมือที่สามารถให้แรงต้านอากาศขณะหายใจเข้าซึ่งเครื่องมือจะประกอบด้วยท่อตรงและปลายท่อด้านหนึ่งต่อกับปากผู้ฝึกอีกด้านเป็นท่อเปิดทางเดียวหรือสองทาง สำหรับผ่านอากาศหายใจเข้า-ออก โดยจะ ติดตั้งตัวต้านทานการฝึกไว้ที่ตัวเครื่องและสามารถปรับระดับแรงต้านทานการฝึกหายใจได้ โดยมีปริมาตรบอกระดับแรงดันของอากาศที่ฝึกหายใจในหน่วยเซนติเมตรน้ำ

การฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (บริเวณหน้าอก ไหล่ หลัง ท้องและลำตัว) อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แถบยางยืดเป็นอุปกรณ์ให้แรงต้านประกอบการฝึกออกกำลังกาย

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ หมายถึง แรงดันอากาศที่เกิดขึ้นภายในทางเดินอากาศจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจ ซึ่งใช้เป็นดัชนีบ่งบอกถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ



เอกสารอ้างอิง


- เจริญ กระบวนรัตน์. 2550. ยาง...ยืดชีวิตพิชิตโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

- พัทธวรรณ ละโป้, เจริญ กระบวนรัตน์, สุทธิลักษณ์ ปทุมราช และ ดรุณวรรณ สุขสม. 2550. การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยไม้ยืดหยุ่นสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 8(2): 48-63.

- มนต์ชัย โชติดาว, โอภาส สินเพิ่มสุขสกุล และ ไถ้ออน ชินธเนศ. 2552. ผลของการใช้ยางยืดรัดรอบอกต่อประสิทธิภาพการทำงานของปอดภายหลังการฝึกแบบใช้ออกซิเจน. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 53(1): 39-49.

- เสาวณีย์ วรวุฒางกูร. 2543. การฝึกกล้ามเนื้อหายใจ. วารสารกายภาพบำบัด. 22(2): 133-142.

- หทัยรัตน์ สีขำ, วัลลีย์ ภัทรโรภาส และ ราตรี เรืองไทย. 2553. ผลของการฝึกชี่กงร่วมกับการใช้ยางยืดรัดรอบอกที่มีต่อสมรรถภาพปอดในผู้สูงอายุ. วิทยาสารกำแพงแสน. 8(2): 64-79.

- Aznar-Lain, S., Webster, AL., Cañete, S., et al. 2007. Effects of inspiratory muscle training on exercise capacity and spontaneous physical activity in elderly subjects: A randomized controlled pilot trial. Int. J. Sports Med. 28(12): 1025-1029.

- Ekstrum, JA., Black, LL., and Paschal, KA. 2009. Effects of a thoracic mobility and respiratory exercise program on pulmonary function and functional capacity in older adults. Phys. Occup. Ther. Geriatr. 27(4): 310-327.

- Enright, SJ., and Unnithan, VB. 2011. Effect of inspiratory muscle training intensities on pulmonary function and work capacity in people who are healthy: A randomized controlled trial. Phys. Ther. 91(6): 894-905.

- Gething, AD., Passfield, L., and Davies, B. 2004. The effects of different inspiratory muscle training intensities on exercising heart rate and perceived exertion. Eur. J. Appl. Physiol. 92(1-2): 50-55.

- Huang, CH., Yang, GG., Wu, YT., and Lee, CW. 2011. Comparison of inspiratory muscle strength training effects between older subjects with and without chronic obstructive pulmonary disease. J. Formos. Med. Assoc. 110(8): 518-526.

- Kwok, TMK., and Jones, AYM. 2009. Target- flow inspiratory muscle training improves running performance in recreational runners: A randomized controlled trial. Hong Kong Physiotherapy J. 27(1): 48-54.

- Mador, MJ., Deniz, O., Aggarwal, A., Shaffer, M., Kufel, TJ., and Spengler, CM. 2005. Effect of respiratory muscle endurance training in patients with COPD undergoing pulmonary rehabilitation. Chest 128(3): 1216-1224.

- McConnell, AK., and Romer, LM. 2004. Dyspnoea in health and obstructive pulmonary disease: The role of respiratory muscle function and training. Sports Med. 34(2): 117-132.

- Neder, JA., Andreoni, S., Lerario, MC., and Nery, LE. 1999. Reference values for lung function tests: II. Maximal respiratory pressures and voluntary ventilation. Braz. J. Med. Biol. Res. 32: 719-727.

- Ramirez-Sarmiento, A., et al. 2002. Inspiratory muscle training in patients with chronic obstructive pulmonary disease: Structural adaptation and physiologic outcomes. Am. J. Respir. Crit. Care Med. 166(11): 1491-1497.

- Watsford, ML., Murphy, AJ., and Pine, MJ. 2007. The effects of ageing on respiratory muscle function and performance in older adults. J. Sci. Med. Sport 10(1): 36-44.

- Watsford, ML., and Murphy, AJ. 2008. The effects of respiratory muscle training on exercise in older women. J. Aging Phys. Act. 16(3): 245-260.

- Yamauchi, T., et al. 2005. Effect of home-based well-rounded exercise in community-dwelling older adults. J. Sports Sci. Med. 4: 563-567.

- Zion, AS., De Meersman, R., Diamond, BE., and Bloomfield, DM. 2003. A home-based resistance-training program using elastic bands for elderly patients with orthostatic hypotension. Clin. Auton. Res. 13(4): 286-292.



บทความวิจัยฉบับเต็ม (Full Paper)


สื่อ:ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดฯ.pdf‎

เครื่องมือส่วนตัว