ภาพลักษณ์อาชีวะ

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
  การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามทัศนะของนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี   AN ANALYSIS OF THE IMAGE OF VOCATIONAL EDUCATION FROM THE PERSPECTIVE OF STUDENTS: MIXED METHODS RESEARCH
    นายวชิรวิทย์ ยางไชย  รศ.ดร.อวยพร  เรืองตระกูล   

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์เพื่อ(1) วิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นของนักเรียน  (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาระหว่างนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันและ 

(3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาระหว่างนักเรียนที่มีบริบทของโรงเรียนแตกต่างกัน แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรกเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาเป็นเครื่องมือวิจัย ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 1,338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม

และแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบเอฟแบบ One-way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ (1) นักเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่าภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาโดยรวมทั้ง 8 ด้าน

อยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน โดยเรียงจากด้านที่มีภาพลักษณ์ดีสุดไปต่ำสุดพบว่า ด้านหลักสูตรการศึกษามีภาพลักษณ์ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ

ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านผู้บริหารและคณาจารย์ ด้านนักเรียนนักศึกษาและด้านการศึกษาต่อ (2) นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีเพศ เกรดเฉลี่ย ระดับชั้น การศึกษา อาชีพและรายได้ของผู้ปกครองต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ

ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาในแต่ละด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีประเภทของโรงเรียน ที่ตั้งของโรงเรียนและภูมิภาคต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาในแต่ละด้าน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เครื่องมือส่วนตัว