การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

วิรี ตันติอนุนานนท์ : การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและการเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (DEVELOPMENT OF A TRAINING MODEL TO ENHANCE INFORMATION LITERACY FOR MANUFACTURING INDUSTRY WORKFORCE BASED ON COLLABORATIVE LEARNING CONCEPT AND INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY LITERACY) อ. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: ผศ. ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม: ดร.นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม, 477 หน้า

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการเรียนรู้ด้านการรู้สารสนเทศของแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมแรงงานการผลิต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและการเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกันและการเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับแรงงานที่พัฒนาขึ้น โดยมีประชากรคือแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ปฏิบัติงานในกลุ่มบริษัทเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการเรียนรู้ด้านการรู้สารสนเทศของแรงงานอยู่ในระดับมาก หัวข้อเรื่องที่ต้องการฝึกอบรม คือโปรแกรมสำนักงาน อินเตอร์เน็ตสืบค้นและอีเมล รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับแรงงานประกอบด้วย ระยะที่ 1. การระบุความต้องการขององค์กรและผู้เรียน ระยะที่ 2. การศึกษาบริบทการทำงานของผู้เรียน ระยะที่ 3. การวางแผนกำหนดเป้าหมายการฝึกอบรม และแผนกิจกรรม ระยะที่ 4. การดำเนินงาน 4.1 การกำหนดหัวข้อการฝึกอบรม 4.2 การกำหนดวิธีการฝึกอบรม 4.3 การจัดหาทรัพยากรในการฝึกอบรม 4.4 การดำเนินการฝึกอบรม 4.4.1 การวางแผนดำเนินงานร่วมกัน 4.4.2 การวิเคราะห์รวบรวมงานที่ทำร่วมกัน 4.4.3 การร่วมกันตัดสินใจรู้เท่าทันในการจัดการ 4.4.4 การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย 4.4.5 การประเมินผลการเรียนรู้ 5. การประเมินรูปแบบการฝึกอบรม ผลของการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะและทัศนคติด้านการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่ส่งเสริมรูปแบบการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น คือวัตถุประสงค์หลักมีความสอดคล้องกับนโยบายองค์กร การให้ความร่วมมือจากผู้บริหาร สร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กร วิธีการกำหนดคุณสมบัติรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เนื้อหาสาระเชื่อมโยงกับบริบทในการทำงาน กิจกรรมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ งบประมาณ ทรัพยากรและแหล่งข้อมูล บทบาทความเป็นผู้นำ และระยะเวลาที่เหมาะสม ภาควิชา การศึกษาตลอดชีวิต ลายมือชื่อนิสิต สาขาวิชา การศึกษานอกระบบโรงเรียน ลายมือชื่อ อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ปีการศึกษา 2556 ลายมือชื่อ อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

เครื่องมือส่วนตัว