จริยธรรมสื่อมวลชน

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

สิทธิเสรีภาพและจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน มีหลักพิจารณาในกรอบของหลักการสำคัญดังนี้

สิทธิของสื่อมวลชน (rights of the press) เสรีภาพของสื่อมวลชน (freedom of the pres) หน้าที่ของสื่อมวลชน (functions of the press) ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน (responsibility of the press)

จริยธรรม หรือจรรยาบรรณ มาจากคำว่า Ethics

จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ

ธรรม หมายถึง ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ คุณความดี คำสั่งสอนในทางศาสนา

อุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์ มี ๒ ประการ คือ

๑. ความถูกถ้วน (Accuracy) ๒. การวิพากษ์วิจารณ์อย่างสัตย์ซื่อ (Honest criticism)

แผนผังเกี่ยวกับหลักจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ หลักปฏิบัติเพื่อการบรรลุอุดมการณ์ ๔ หลัก - หลักความจริงที่แท้ (Objectivity)

  1.ความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย
  2.ปราศจากข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือทางความสนใจ
  3.โอกาสของการปฏิเสธ
  4.ละเว้นเสียจากความลำเอียงต่อผู้ใกล้ชิด
  5.ละเว้นเสียจากความเคียดแค้นพยาบาท

- หลักความสัตย์จริง (Honesty)

  1.เสนอรายงานข่าวที่เป็นจริง มิใช่เสนอนิยาย
  2.รักษาวาจาที่ได้ให้คำมั่นหรือตกปากลงคำกับใครเขาไว้

- หลักความบังควรและไม่บังควรที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน (Decency)

  1.ความลำเอียงต่อคนต่างเชื้อชาติ หรือต่างภาษา
  2.ความลำเอียงต่อคนต่างศาสนา
  3.ความน่าชิงชังน่ารังเกียจ

หลักการลอกเรื่องของคนอื่นแล้วทึกทักเอาเป็นของตัว (Plagiarism)



โดย Introduction to Mass Media Team Teaching รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ รศ. ปัทวดี จารุวร ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต ผศ. เมธา เสรีธนาวงศ์ อ. ไศสทิพย์ จารภูมิ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์

เครื่องมือส่วนตัว