สีเส่ียดน้ำ

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

สีเสียดน้ำ (ซื่อวิทยาศาสตร์: Mallotus plicatus; ชื่อวิทยาศาสตร์อื่น: Coccocerus plicatum, Croton anisopodum, Croton castanifolius, Croton eirocarpoides, Hymenocardia plicata, Mallotus anisopodus และ Mallotus eriocarpoides; ชื่อพ้องไทย: แพงพวยบก )เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุล Mallotus วงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae)มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม ลำต้นมีความสูง 15 เมตร ตามลำต้นมีต่อมน้ำมันสีแดงและขนรูปดาวขึ้นกระจายไปทั่ว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามหรือเรียงสลับ มีหูใบ ใบมีรูปร่างเรียวยาว ฐานใบและปลายใบโค้งมน ใบมีความกว้าง 2.5-8.5 ซม. ยาว 5.5-16 ซม. ก้านใบยาว 1.2-4 ซม. ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นช่อรวมกัน 1-3 ช่อดอก พบที่ปลายกิ่งและที่ยอด แต่ละช่อดอกมีใบประดับหุ้ม ใบประดับมีความกว้าง 0.8-1.2 มม. ยาว 1.2-1.8 มม. ดอกออกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 3-7 ดอก ดอกเพศผู้มีก้านชูดอกยาว 2.5 มม. ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3-4 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองและสีแดง มีเกสรตัวผู้ 20-25 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีความยาว 0.5-1.5 มม. เกสรตัวผู้มีความยาว 0.3-0.5 มม. ดอกเพศมีมีก้านชูดอกยาว 1-3 มม. แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5-6 กลีบ มีก้านชูเกสรตัวมี 1 อัน มีความยาว 2-2.5 มม. ดอกเพศเมียมีรังไข่ 1 อัน ภายในรังไข่ประกอบด้วย 4 locule ผลมีลักษณะเป็นผลแห้งมีสีน้ำตาลและมีปีก ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 มม. เมล็ดมีลักษณะกลม มีผิวมันวาวสีน้ำตาลดำ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม. พืชชนิดนี้พบตามป่าไม่ผลัดใบที่ระดับความสูง 150 เมตรจากระดับน้ำทะเล แหล่งที่พบได้แก่ประเทศพม่า กัมพูชา ลาวเวียดนาม และไทย ในไทยพบที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดสระบุรี ไฟล์:DSC08088.png จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของส่วนเปลือกต้นสีเสียดน้ำ พบว่ามีสารทั้งหมด 9 ชนิด โดยมีสาร 2 ชนิดเป็นสารที่ไม่เคยมีรายงานวิจัยมาก่อนได้แก่สาร bergenin-8-O-α-L-rhamnoside และสาร seco-bergenin-8-O-α-L-rhamnoside ส่วนสารอีก 7 ชนิดเป็นสารที่เคยมีรายงานมาแล้วได้แก่สาร aleuritolic acid 3-acetate, bergenin, daucosterol, protocatechuic acid, 11-O-acetylbergenin, scopoletin และ blumenol A จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าสาร seco-bergenin-8-O-α-L-rhamnoside และสาร protocatechuic acid มีฤทธิ์ต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริมอย่างอ่อน นอกจากนี้จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในช่องปาก (KB cell) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าไม่มีสารชนิดใดเลยที่มีฤทธิ์ดังกล่าว ไฟล์:Chemical_constituents.png

เครื่องมือส่วนตัว